สำหรับบริษัท
"ยื่นภาษี 2564" เจาะภาษีคริปโตเคอร์เรนซี Cryptocurrency เหตุผลที่ต้องนํามารวมคํานวณเพื่อเสียภาษี ไม่จ่ายได้ไหม กรมสรรพากรจะรู้หรือเปล่า แล้วถ้าจะยื่นแบบ วิธีการกรอกออนไลน์ทำอย่างไร

"ยื่นภาษี 2564" เจาะภาษีคริปโตเคอร์เรนซี Cryptocurrency เหตุผลที่ต้องนํามารวมคํานวณเพื่อเสียภาษี ไม่จ่ายได้ไหม กรมสรรพากรจะรู้หรือเปล่า แล้วถ้าจะยื่นแบบ วิธีการกรอกออนไลน์ทำอย่างไร

11 กุมภาพันธ์ 2565

"ยื่นภาษี 2564" เจาะภาษีคริปโตเคอร์เรนซี Cryptocurrency เหตุผลที่ต้องนํามารวมคํานวณเพื่อเสียภาษี ไม่จ่ายได้ไหม กรมสรรพากรจะรู้หรือเปล่า แล้วถ้าจะยื่นแบบ วิธีการกรอกออนไลน์ทำอย่างไร

11 กุมภาพันธ์ 2565

       "ยื่นภาษี 2564" ภาษีคริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) อ้างอิง พระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ซึ่งระบุรายละเอียดในเนื้อหาว่า สินทรัพย์ดิจิทัลหากมีกำไรหรือมีผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ร้อยละ 15 ของกำไร และบุคคลที่มีเงินได้จากการซื้อขายคริปโตฯ จะต้องยื่นแบบแสดงการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดย พระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 ได้หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกําหนดฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันได้มีการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัล หรือการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยน คริปโตเคอร์เรนซี หรือ โทเคนดิจิทัล ซึ่งเงินได้จากกรณีดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องนํามารวมคํานวณเพื่อเสียภาษี แต่โดยที่ยังไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายเพื่อการจัดเก็บ ภาษีคริปโตเคอร์เรนซี เงินได้จาก คริปโตเคอร์เรนซี หรือ โทเคนดิจิทัล เป็นการเฉพาะเป็นเหตุให้รัฐไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้ครบถ้วน

       ดังนั้น เพื่อให้การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในกรณีดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความจําเป็นที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และโดยที่เป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน จึงจําเป็นต้องตราพระราชกําหนดนี้

       อย่างไรก็ตาม เป็นที่ฮือฮารับ ปีใหม่ 2565 ของเหล่านักลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล หลังกรมสรรพากรให้ผู้ที่มีกำไรจากการลงทุนต้อง "ยื่นภาษี 2564" เสียภาษีคริปโตเคอร์เรนซี เงินได้ให้ถูกต้อง แม้จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 15 แล้ว หากขายได้กำไร สุดท้ายก็ยังต้องมายื่นภาษีประจำปีอีก

วิธีกรอกแบบการยื่นภาษี ดังนี้
กรณีการยื่นแบบภาษีออนไลน์ เข้าไปที่เว็บไซต์ E-FILING : https://efiling.rd.go.th/ : คลิกที่นี่ กดยื่นแบบออนไลน์ : คลิกที่นี่ ล็อกอินแล้วทำตามขั้นตอน
ในหน้า กรอกเงินได้ จะมีหัวข้อ รายได้จากการลงทุน "ดอกเบี้ย เงินปันผลจากบริษัทต่างประเทศ ประโยชน์ใด ๆ จาก คริปโตเคอร์เรนซี หรือ โทเคนดิจิทัล เงินเพิ่มทุน เงินลดทุน (มาตรา 40(4)) คลิก ระบุข้อมูล
กรอกเป็นรายการ ประเภทธุรกิจ (ประเภทของเงินได้) เงินได้ทั้งหมด ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เลขผู้จ่ายเงินได้

       "การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ทั้ง คริปโตเคอร์เรนซี และ โทเคนดิจิทัล โดยปกติว่าหากมีการขายแล้วมีกำไร ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(4) จัดอยู่ในหมวดของการลงทุนแบบเดียวกับ ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งผู้จ่ายเงินได้ มีหน้าที่ต้องเสียภาษี" นางสมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ โฆษกกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ให้ข้อมูลพร้อมระบุว่า ถ้าเข้าไปดูแบบ ก็จะมีรายละเอียดในคำอธิบายแต่ละข้อว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งก็จะมีอยู่หนึ่งข้อ คือ ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนและ คริปโตเคอร์เรนซี และ โทเคนดิจิทัล ที่ได้กำไร โดยเรื่องนี้เป็นกฎหมายอยู่แล้วว่าถ้ามีกำไรจากการขาย ก็ต้องมีหน้าที่นำมารวมคำนวณกับเงินได้ประเภทอื่น ถ้าเราเป็นมนุษย์เงินเดือน แล้วมีไปเทรดคริปโตฯ ตรงนี้นอกจากเงินเดือน เราก็ต้องเอาตัวนี้มาใส่ที่ มาตรา 40(4)

       "หากผู้ที่มีกำไรจากเทรดดังกล่าวและไม่ยื่นภาษีนั้น กรมสรรพากรมีข้อมูลอยู่แล้ว สามารถตรวจสอบได้ ต้องดูความผิดปกติของแต่ละราย ซึ่งขึ้นอยู่กับสรรพากรในแต่ละพื้นที่ว่าจะมีการตรวจสอบอย่างไร" โฆษกกรมสรรพากร ระบุเพิ่มเติม ที่ผ่านมาการยื่นภาษี มาตรา 40(4) มีรายละเอียดย่อยค่อนข้างมาก ประชาชนอาจยังไม่ทราบทั้งหมดว่าต้องยื่นรายได้ในส่วนนี้ พอมีข่าวออกมาอาจจะทำให้เกิดความตื่นตัว ซึ่งทางกรมสรรพากรพยายามประชาสัมพันธ์ให้ทราบ เพื่อให้ดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จะไม่ต้องมีภาระย้อนหลัง หากถูกตรวจสอบว่าไม่ได้ยื่น

Cr. komchadluek

TAGS : อัปเดตตำแหน่งงาน , ยื่นภาษี , ข่าว , ภาษีเงินได้ , บุคคลธรรมดา , ยื่นภาษีออนไลน์ , อัพเดตตำแหน่งงาน , บทความผู้หางาน , สมัครงาน

บทความที่ได้รับความนิยม
งานที่น่าสนใจ